homescontents
anadolu escort bostancı escort kadıköy escort
deneme bonusu veren siteler deneme bonusu veren siteler bahis siteleri
deneme bonusu deneme bonusu veren siteler
xbporn
deneme bonusu veren siteler 2024
beşiktaş escort
Canlı Bahis Canlı Bahis
Fixbet Matadorbet Fixbet giriş Fixbet adres Deneme bonusu veren siteler
sakarya escort sakarya escort sakarya escort sakarya escort sakarya escort

 บทบาท หน้าที่สำนักงานตรวจสอบภายใน

 ๑. อำนาจหน้าที่ (Authority)   
         ๑.๑ สำนักงานตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในตามแผนการตรวจสอบประจำปี ที่ได้รับอนุมัติและปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบและอธิการบดีของสถาบันพระบรมราชชนก ตามควรแก่กรณีที่ไม่ทำให้ผู้ตรวจสอบภายในขาดความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม             
         ๑.๒ สำนักงานตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานอิสระของสถาบันพระบรมราชชนก ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและอธิการบดีมอบหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายในอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรอย่างเพียงพอ
         ๑.๓ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายใน รับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงานตรวจสอบภายใน ให้ขึ้นตรงต่ออธิการบดี
         ๑.๔ ผู้ตรวจสอบภายใน ดำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระ และไม่มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในกิจกรรมที่ตรวจสอบ และปราศจากการแทรกแซงในการปฏิบัติงาน และการเสนอความเห็นในการตรวจสอบของฝ่ายบริหารหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด รวมทั้งต้องไม่ตรวจสอบงานที่ตนเคยทำหน้าที่หรือปฏิบัติงานภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนการตรวจสอบ และไม่ควรเป็นกรรมการในคณะกรรมการใดๆ ของสถาบันอันมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในการตรวจสอบ
          ๑.๕ ผู้ตรวจสอบภายในมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล บุคคล เอกสารหลักฐาน และทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นของสถาบันหรืออยู่ในความครอบครองของสถาบัน เพื่อรับทราบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
๒. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)
          ๒.๑ กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนการบริหารงาน และการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสถาบัน โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันพระบรมราชชนก สภาสถาบันพระบรมราชชนก และคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการอื่นใดที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน โดยคำนึงถึงการกำกับดูแลที่ดี มีประสิทธิภาพของกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง และความเพียงพอของการควบคุมภายในสถาบันพระบรมราชชนก
          ๒.๒ กำหนดกฎบัตรไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเสนออธิการบดีก่อนเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเผยแพร่ให้หน่วยรับตรวจทราบ รวมทั้งมีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
          ๒.๓ จัดให้มีการประกันและปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายในและภายนอก ตามรูปแบบและวิธีการที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ และเสนอรายงานผลการประเมิน ปัญหาและอุปสรรครวมทั้งแผนปรับปรุงการดำเนินงานต่ออธิการบดีและคณะกรรมการตรวจสอบ
          ๒.๔ จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบประจำปี ต่ออธิการบดีก่อนเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนกันยายนของทุกปี
          ๒.๕ ปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติ
          ๒.๖ จัดทำและเสนอรายงานผลการตรวจสอบต่ออธิการบดี และคณะกรรมการตรวจสอบเวลาอันสมควรและไม่เกินสองเดือนนับจากวันที่ดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ กรณีเรื่องที่ตรวจพบเป็นเรื่องที่จะเสียหายต่อสถาบันให้รายงานผลการตรวจสอบทันที
          ๒.๗ ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจ เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบ
         ๒.๘ ในกรณีมีความจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาร่วมปฏิบัติงานตรวจสอบ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในเสนอขอบเขตและรายละเอียดของงาน คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ ระยะเวลาดำเนินการและผลที่คาดหวังจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งข้อเสนอโครงการของผู้เชี่ยวชาญ เสนอให้อธิการบดีพิจารณอนุมัติให้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญต่อไป
          ๒.๙ ปฏิบัติงานการให้คำปรึกษาแก่หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยรับตรวจและผู้ที่เกี่ยวข้อง
          ๒.๑๐ ประสานงานกับผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการอื่นที่ปฏิบัติงานเช่นเดียวกันและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าขอบเขตงานตรวจสอบครอบคลุมเรื่อง     ที่สำคัญอย่างเหมาะสมและลดการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนกัน
          ๒.๑๑ ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบและอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก

 

Copyright © 2024 Praboromarajchanok Institute. All rights reserved.