homescontents
istanbul escort
konak escort konak escort
pendik escort maltepe escort anadolu escort bostancı escort kadıköy escort ataşehir escort ümraniye escort
sakarya escort sakarya escort sakarya escort sakarya escort serdivan escort adapazarı escort sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sakarya escort bayan sapanca escort
film izle
บทบาทหน้าที่และโครงสร้างกองส่งเสริมวิชาการและคุณภาพการศึกษา
งานพัฒนามาตรฐานการศึกษา
          มีหน้าที่รับผิดชอบ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่การปรับปรุงหลักสูตรการขออนุมัติหลักสูตร และการเปิดสอน การพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาหลักสูตรทุกหลักสูตร การรับสถาบันการศึกษาอื่นเข้าเป็นสถาบันสมทบ การจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่น การจัดการข้อมูลสารสนเทศ  ด้านหลักสูตร การเรียนการสอน และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งออกเป็น ๓ งาน ดังนี้
     ๑. งานพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอ นโยบาย แผน และกลไกการพัฒนางานด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถาบันพระบรมราชชนก เสนอสภาวิชาการและสภาสถาบันตามที่กำหนด เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของสถาบัน
               (๒) สนับสนุน ส่งเสริม เป็นที่ปรึกษา ให้วิทยาลัย /คณะ พัฒนาหลักสูตรใหม่/ปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ทันสมัย และเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องศึกษาวิเคราะห์บริบทที่เกี่ยวข้อง
               (๓) ตรวจสอบรูปแบบหลักสูตร และกลั่นกรองหลักสูตรเบื้องต้น เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่กำหนด ก่อนนำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ และเสนอเพื่อขออนุมัติสภามหาวิทยาลัยตามลำดับขั้นตอน
               (๔) ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตามและให้ข้อเสนอแนะในการนำหลักสูตรไปใช้การบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานชาติ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาองค์ประกอบ ได้แก่ การกำกับมาตรฐาน บัณฑิต นักศึกษา อาจารย์ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอน
               (๕) วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสภามหาวิทยาลัย ในการพิจารณาเปิดหลักสูตรใหม่ตามความต้องการของประเทศ ระบบสุขภาพและตลาดแรงงาน
               (๖) วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสภามหาวิทยาลัย ในการพิจารณาปิดหลักสูตร ที่ไม่ทันสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของประเทศ ระบบสุขภาพและตลาดแรงงาน
               (๗) วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสภามหาวิทยาลัย ในการพิจารณารับสถาบันการศึกษาอื่นเป็นสถาบันสมทบ การออกจาการรับสถาบันสมทบ การจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันอื่น และการให้ความร่วมมือด้านอื่นๆ
               (๘) พัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น
               (๙) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
     ๒. งานพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ สังเคราะห์และร่วมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและ ประเมินผลการศึกษาของวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพ ทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติ เพื่อให้ได้บัณฑิตพยาบาลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ และอัตลักษณ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และให้ข้อเสนอในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ และทักษะตามโครงสร้างหลักสูตรที่กำหนด สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
               (๓) ส่งเสริม สนับสนุนให้วิทยาลัย / คณะ วิเคราะห์เพื่อจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               (๔) วิเคราะห์ สังเคราะห์และส่งเสริม สนับสนุนในการวางแผนพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะการสอนที่ทันสมัย
               (๕) พัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น
               (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
     ๓. งานสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจด้านการบริหารหลักสูตร ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และให้ข้อเสนอกับงานเทคโนโลยีดิจิตัล ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ด้านการบริหารหลักสูตร ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร หรือมาตรฐานชาติที่เกี่ยวข้อง
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามให้วิทยาลัยบันทึกข้อมูลสารสนเทศการจัดการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ด้านการบริหารหลักสูตร การเรียนการสอน เพื่อให้ วิทยาลัย คณะ สภาวิชาการสภามหาวิทยาลัย สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               (๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
งานประกันคุณภาพการศึกษา
          มีหน้าที่รับผิดชอบ ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบและกลไก และเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา กำกับติดตาม และสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพทั้งด้านการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ การประเมินคุณภาพภายใน และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งออกเป็น ๓ งาน  ดังนี้ 
     ๑.  งานพัฒนามาตรฐานการศึกษา  ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนวทาง/หลักเกณฑ์ และพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               (๒) พัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา และจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๓) กำกับ ติดตามการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๔)  ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพทั้งด้านการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ และการประเมินคุณภาพภายใน ของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๕) ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ ตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๖) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งร่วมพัฒนาการดำเนินงานของสถาบันพระบรมราชชนก ให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง                            
               (๗) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันพระบรมราชชนกมีการพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานที่ดี (Good Practice) และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ
               (๘) กำกับ/ติดตาม และประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก ตามผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอก
     ๒. งานประเมินคุณภาพการศึกษา  ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบ/กลไกการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ของสถาบันพระบรมราชชนก ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับ ติดตาม การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ให้เป็นไปตามระบบและกลไกที่กำหนด
               (๓) วิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบ/กลไกและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน เพื่อวางแผนพัฒนา/ปรับปรุงให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจของสถาบัน
               (๔) พัฒนา/อบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือเกณฑ์ขององค์กรวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               (๕) ดำเนินการเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพ ระดับสถาบัน ทั้งภายในและภายนอก ของสถาบันพระบรมราชชนก ตามวงรอบการประเมิน
               (๖) สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในภาพรวม และนำเสนอข้อมูลผลการประเมินคุณภาพ รวมถึงแนวทางการพัฒนาต่างๆ แก่ผู้บริหาร ของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๗) ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๘) เสริมสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
     ๓. งานสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และให้ข้อเสนอกับงานเทคโนโลยีดิจิตัล ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหาร การตัดสินใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา ของสถาบันพระบรมราชชนก  
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับ ติดตามให้หน่วยงานต่างๆ ของสถาบันพระบรมราชชนก บันทึกข้อมูลและจัดการสารสนเทศ เพื่อการบริหาร การตัดสินใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               (๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
งานทดสอบทางการศึกษา  ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) จัดทำข้อเสนอ นโยบาย แผน และกลไกการพัฒนางานด้านการทดสอบทางการศึกษา เสนอสภาสถาบันที่ได้มาตรฐานให้เป็นไปตามนโยบายของสถาบัน
               (๒) พัฒนาระบบและกลไกของงานทดสอบทางการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก วิธีการทดสอบและเครื่องมือวัดและประเมินผล ตามมาตรฐานการศึกษา
               (๓) พัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้ตามมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด เช่น ข้อสอบภาษาอังกฤษ
               (๔) จัดทำคลังข้อสอบมาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาคลังข้อสอบให้เป็นสารสนเทศด้านข้อสอบ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง (E-test) และจัดทำคู่มือที่เกี่ยวข้อง
               (๕) เป็นศูนย์กลางด้านการทดสอบทางการศึกษา เพื่อประเมินทักษะของบัณฑิตในศตวรรษที่ ๒๑
               (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
บุคลากรของ
 
 

Copyright © 2024 Praboromarajchanok Institute. All rights reserved.